Skip to content
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ผลการฝึกเดินบนลู่วิ่งสายพานใต้น้ำด้วยหัวฉีดแรงต้านทานน้ำโดยพิจารณาจากความสมดุลและความสามารถในการเดินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรัง (ใช้การทดลอง ควบคุมแบบสุ่มในกลุ่มทดลองย่อย)

งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาผลการฝึกเดินในตู้ลู่วิ่งสายพานใต้น้ำโดยมีหัวฉีดเพิ่มแรงต้านทานของน้ำ(water-jet resistance) บริเวณขา และการฝึกเดินในตู้ลู่วิ่งสายพานใต้น้ำโดยมีตัวถ่วงน้ำหนัก (ankle weights) ที่ข้อเท้าเพื่อพิจารณาความสมดุลและความสามารถในการเดินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรัง โดยกลุ่มทดสอบเป็นผู้ป่วยจากโรงพยาบาลอินชอน ประเทศเกาหลีช่วงอายุ45-55 ปีจำนวน 22 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้หัวฉีดเพิ่มแรงต้านทานของน้ำด้วยอัตราการไหล 442 ลิตรต่อนาทีจำนวน 11 คน และกลุ่มที่ใช้ตัวถ่วงน้ำหนักคิดเป็น 5% ของน้ำหนักตัวผู้ป่วย จำนวน 11 คน

โดยควบคุมความเร็วของน้ำที่ 1-4 เมตรต่อวินาทีระดับความสูงของน้ำอยู่ที่บริเวณลิ้นปี่อุณหภูมิของน้ำ 34 ºC ผู้ป่วยเดินบนลู่วิ่ง 30 นาทีเป็นเวลา 5 วัน/สัปดาห์ทั้งหมด 4 สัปดาห์ในการตรวจสอบใช้เครื่อง ทดสอบการทรงตัว (Balance System SD) เพื่อประเมินความสามารถในการรักษาสมดุล นอกจากนี้ยัง ใช้เครื่องวิเคราะห์การเดิน (GAITRite) ในการประเมินความเร็วในการเดิน จังหวะการเดิน (cadence) ระยะความยาวก้าวระหว่างเท้าซ้ายและเท้าขวา (step length) ระยะความยาวก้าวของเท้าข้างเดียวกัน (stride length) และช่วงเวลาที่เท้าไม่ได้แตะพื้น (swing phase)

จากผลการทดสอบทั้งหมดพบว่าการ ฝึกเดินในตู้ลู่วิ่งสายพานใต้น้ำแบบใช้หัวฉีดเพิ่มแรงต้านทานช่วยพัฒนาความสมดุลในการทรงตัว และความสามารถในการเดินของผู้ป่วยได้มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนและหลังใช้ซึ่งผู้วิจัยเล็งเห็นว่าวิธีการนี้จะมีประโยชน์ต่อการบำบัดและประเมินศักยภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรังได้ในอนาคต