Skip to content
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ผลของการฝึกเดินบนลู่วิ่งสายพานใต้น้ำที่มีต่อความแข็งแรงของขา การทรงตัว และประสิทธิภาพในการเดินของผู้ป่วยไขสันหลังชนิดไม่สมบูรณ์

ผู้ป่วยไขสันหลังชนิดไม่สมบูรณ์(incomplete spinal cord injury; iSCI) มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวและการทำงานของร่างกาย ซึ่งเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน และนำไปสู่โรคต่างๆ จึงต้องหาวิธีการออกกำลังกายที่ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ และสามารถพยุงน้ำหนักของร่างกายได้งานวิจัยนี้สนใจนำตู้ลู่วิ่งสายพานใต้น้ำ (underwater treadmill; UTT) มาทดสอบการฝึกเดินในผู้ป่วย iSCI จำนวน 11 คน สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 3 รอบ ตลอดระยะเวลา 8 สัปดาห์ที่อุณหภูมิน้ำ32 ºC ความเร็วในการเดินช้ากว่าเดินบนดิน 50% ตำแหน่งของระดับน้ำอยู่บริเวณเข่าและสะโพก มีการปรับความเร็วในการเดินเพิ่มขึ้น 10% ทุก 2 สัปดาห์เวลาที่ใช้ในการเดินเริ่มต้นที่5 นาทีและปรับเพิ่ม 1 นาทีในสัปดาห์ที่3, 5 และ 7 ตามลำดับ จาก ผลการทดสอบพบว่าน้ำช่วยพยุงน้ำหนักของร่างกายผู้ป่วยได้ถึง 29-47% ของน้ำหนักร่างกายบนบก และจากการวัดค่าต่างๆก่อนและหลักฝึกเดินด้วย UTT พบว่าค่าความแข็งแรงของขาเพิ่มขึ้น 57% ผู้ป่วยสามารถทรงตัวได้มากขึ้น 37% เนื่องจากน้ำช่วยพยุงน้ำหนัก จึงควบคุมร่างกายได้ง่าย อีกทั้งยัง สามารถปรับท่าทางการเดินได้แบบทันทีส่งผลให้การเดินในสภาวะปกติ (Preferred walking speed; PWS) มีความเร็วเพิ่มขึ้น 34% และในการเดินแบบรวดเร็ว (Rapid walking speed; RWS) เพิ่มขึ้นถึง 61% ทำให้ผู้ป่วยมีระยะทางในการเดินภายใน 6 นาที (6-minute walk distance; 6MWD) มากขึ้นถึง 82% และสังเกตได้ว่าในช่วงแรกผู้ป่วยทั้ง 11 คนต้องได้รับการพัก ระหว่างรอบการเดิน แต่เมื่อครบ 8 สัปดาห์มีผู้ป่วยถึง 9 คนที่ไม่ต้องพักในระหว่างฝึก ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าร่างกาย มีความอดทนมากขึ้น นอกจากนี้ค่าเฉลี่ยในการก้าวเดินแต่ละวัน (daily step activity; DSA) เริ่มต้นอยู่ที่593 ก้าว แต่เมื่อ ครบ 8 สัปดาห์มีจำนวนก้าวที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า (1,310 ก้าว) จากผลลัพธ์ที่กล่าวมาทั้งหมดบ่งชี้ให้เห็นว่าผู้ป่วยมีสมรรถภาพทางกายและความสามารถในการเดินดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากมุมมอง ทางคลินิกการค้นพบเหล่านี้เน้นย้ำถึงศักยภาพของ UTT ในบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายและ โรคต่างๆ ที่ได้รับประโยชน์จากการออกกำลังกายแบบช่วยพยุงน้ำหนัก