Skip to content
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการฝึกเดินบนลู่วิ่งสายพานใต้น้ำและบนบก สำหรับผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน

จากข้อมูล ปี 2007 ประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนถึง 60% ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และมีโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควร งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง สมรรถภาพทางกาย น้ำหนักตัว และองค์ประกอบของร่างกายในผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และเป็นโรคอ้วน หลังจากฝึกวิ่งบนบก หรือบนลู่วิ่งสายพานใต้น้ำ(Underwater treadmill; UTM) ในการทดสอบนี้มีผู้ทดสอบจำนวน 57 คน ที่ไม่ออกกำลังกาย และมีน้ำหนักเกิน

แบ่งออกเป็น ผู้ชาย 25 คน และผู้หญิง 32 คน โดยทำการสุ่มการออกกำลังกายทั้งหมด 12 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 ครั้ง แบ่งออกเป็นกลุ่มออกกำลังกายบนบก 29 คน และ UTM 28 คน พบว่าปริมาณแคลอรี่ที่เผาผลาญได้ในแต่ละครั้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 250 เป็น 500 กิโลแคลอรี่จนถึงสัปดาห์ที่6 และยังคงอยู่ที่500 กิโลแคลอรีเมื่อถึงสัปดาห์ที่12 หลังจากฝึกวิ่งบนบก และ UTM พบว่าปริมาณออกซิเจนสูงสุด (VO2max) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (+3.6 ± 0.4 mL O2 ·kg-1·min-1)

ในขณะที่น้ำหนักตัว (-1.2 ± 0.3 kg) ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) (-0.56 ± 0.11 kg·m-2) ร้อยละไขมันในร่างกาย (-1.3% ± 1.3%) และมวลไข มัน (-1.1 ± 0.3 kg) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของน้ำหนักกล้ามเนื้อ บริเวณขาส่วนที่ไม่มีไขมัน (Leg lean body mass; leg LBM) พบเพียงในการฝึกวิ่งด้วย UTM เท่านั้น (+0.6 ± 0.3 kg)

จากผลการทดสอบทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า UTM มีประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย เทียบเท่าการฝึกเดินบนบก และเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาได้ดีกว่า รวมไปถึงสามารถลดแรงกระแทกต่อข้อต่อและกล้ามเนื้อขณะออกกำลังกายจึงลดอาการเจ็บปวดของข้อต่อและกล้ามเนื้อ